วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการถ่ายภาพ ซีลูเอท


           ภาพซิลูเอท (Silhouette) พูดง่ายๆก็คือ ภาพเงาดำ นั่นเอง โดยลักษณะของภาพแบบนี้ก็คือเราจะเห็นวัตถุในภาพเป็นเพียงรูปทรงสีดำ ไม่มีรายละเอียดอะไรในรูปทรงนั้นๆ ภาพแบบนี้เราสามารถถ่ายทำได้ง่ายๆ เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในรายละเอียดของตัวแบบทำให้วิธีการ
                วิธีการก็คือ ให้เราถ่ายภาพย้อนแสงนั่นเอง ถ้าหากเราต้องการความดำแบบชัวร์ๆ ก็สามารถทำได้โดยใช้การวัดแสงเฉพาะจุด เช่น วัดแสงไปที่ท้องฟ้า หรือ พระอาทิตย์ กล้องจะถ่ายรูปที่ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงจนแสงสำหรับตัวแบบของเราไม่พอ
แล้วทำไมเราต้องถ่ายภาพซิลูเอท
เหตุผลนั้นมีหลายประการ เช่น เราต้องการนำเสนอรูปทรงที่น่าสนใจของวัตถุต่างๆ เราก็สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบซิลูเอท เพื่อให้จุดสนใจอยู่ที่รูปทรงอย่างเดียว ผู้ชมไม่ต้องวอกแวกไปกับรายละเอียดของตัวแบบ หรือ ตอนถ่ายภาพนั้นไม่มีอุปกรณ์เสริมที่เพียงพอ เช่น ไปถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก ไม่มีฟิลเตอร์ GND ก็ถ่ายเป็นรูปซิลูเอทมาก็สวยได้เช่นกัน




การถ่ายภาพโดยใช้แฟลช
                แฟลชก็เป็น อุปกรณ์เสริมในการถ่ายภาพ โดยปัจุบันสามารถนำแฟลชมาใช้ในงานต่างๆเพื่อเพิ่มความแตกต่างให้การการถ่ายภาพ และให้ภาพถ่ายนั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
                แสง คือ ปัจจัยสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพ หากไม่มีแสงก็ไม่สามารถถ่ายภาพได้ โดยทั่วไปแล้วเราอาศัยแสงจากธรรมชาติหรือแสงอาทิตย์ แต่แสงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่สามารถควบคุมได้ จึงได้มีการคิดค้นแฟลชเพื่อช่วยให้เป็นแหล่งกำเนิดแสง
          แฟลช (Flash) มีลักษณะเป็นไฟวาบสว่างขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เป็นอุปกรณ์จำเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่สภาพแสงธรรมชาติไม่เป็นตามที่นัก ถ่ายภาพต้องการ ซึ่งเชื่อว่าไม่มีนักถ่ายภาพคนใดไม่รู้จักแฟลช และยังเชื่อต่อไปอีกว่ามีนักถ่ายภาพจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจเรื่องแฟลชดีมากพอ ในบทความนี้จะแนะนำการใช้แฟลชขั้นพื้นฐาน จะเน้นการนำไปใช้งานทั่วไป และสอดแทรกข้อมูลทางเทคนิคบ้าง
                หลักการทำงานของแฟลชแบบ TTL คือแฟลชจะยิงแสงพรีแฟลชออกไปเบา ๆ ก่อนยิงแสงแฟลชจริง แล้ววัดค่าแสงแฟลชที่สะท้อนวัตถุผ่านเลนส์เข้ามา พร้อมกับนำค่าระยะห่างของวัตถุและค่าขนาดช่องรับแสงมาคำนวณก่อนที่ยิงแสง แฟลชจริงออกไป ในบางระบบบันทึกภาพแฟลชจะทำงานเองโดยอัตโนมัติ ที่กล่าวมานั้นเป็นการใช้งานในระบบบันทึกภาพแบบ Creative (P, S, A, M) ซึ่งเป็นระบบที่นักถ่ายภาพต้องควบคุมระบบแฟลชเอง
                การถ่ายภาพในที่มืด ในบางครั้ง เราอาจจะใช้ การ ดันISO ให้สูงๆ แล้วถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย แต่สิ่งที่ตามมากลับเป็น Noise (หรือ สัญญาณรบกวน) ตามมาจนทำให้ภาพ แทบดูไม่ได้   แต่เราสามารถใช้แสงประดิษฐ์ ที่เรียกว่าแฟลช นี้มาเพื่อ การถ่ายภาพกลางคืน โดยที่เราสามารถใช้แฟลช เพิ่มเพิ่มความหน้าสนใจให้กับภาพถ่ายของเราได้อีกหลายวิธี




           แต่ถ้าเจอ สภาพแสงน้อยมากแล้วต้องมาถ่ายเพื่อให้หยุดความเคลื่อนไหว อีกแล้วละก็ การดัน สปีตชัตเตอร์สูงก็ทำให้ภาพดูมืดลงไปจนทำให้ภาพของเราดูไม่มีความโดนเด่นเพราะ ฉนั้นเราเลยใช้ แฟลช ในการหยุดความเคลื่อนไหวของวัตถุที่เคลื่อนที่ เช่นภาพที่นำ มาประกอบในภาพนี้ เป็น (Cr.ทริปของแก๊งนังเลงภาพถ่าย) ที่ถ่ายภาพประมาน 5โมงเย็น แสงน้อย และถ่ายย้อนแสง เลยใช้แฟลชในการถ่ายภาพ โดย ปรับแต่ สปีตชัตเตอร์ 1/60 F4 ISO100 เท่านี้ก็สามารถหยุดความเคลื่อนไหวได้แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น