วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

130825 Sunmi - 24 Hours @ inkigayo Solo Debut Stage

130824 Sunmi - 24 Hours @ Music Core Solo Debut Stage

130823 Sunmi - 24 Hours @ Music Bank Solo Debut Stage

130822 M! Countdown Sunmi - 24 Hours Comeback

Sunmi (Wonder Girls) - 24 hours

วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ชนิดของเลนส์ (Lens)


              โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งช่วงของเลนส์เป็น 3 ช่วงคือ มุมกว้าง(Wide angle) , มาตรฐาน(Normal) และ ถ่ายไกล(Telephoto)
             โดยจะแบ่งจากทางยาวโฟกัสเทียบกับเส้นทะแยงมุมของ Image Sensor โดย ถ้าทางยาวโฟกัสมากกว่ามากกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์ถ่ายไกล(Telephoto lens)
ถ้าทางยาวโฟกัสเท่ากับเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์ระยะมาตรฐาน(Normal lens)
แต่ถ้ายาวโฟกัสมากกว่าน้อยกว่าเส้นทะแยงมุม ก็จะเป็น เลนส์มุมกว้าง(Wide angle lens)


1.เลนส์มาตรฐาน (Normal lens หรือ Standard lens) 
               เป็นเลนส์ประจำกล้อง           ซึ่งเมื่อซื้อกล้องถ่ายภาพจะมี เลนส์ชนิดนี้ ติดมาด้วยเป็นเลนส์ที่ใช้ง่าย มีความยาวโฟกัส ระหว่าง 40-58 มม. ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นขนาด 50 มม. (โดยวัดจากกึ่งกลางเลนส์ถึงฟิล์ม) เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มเรียนรู้ในเรื่องการถ่ายภาพ เป็นเลนส์ที่มีองศาในการรับภาพ กว้างประมาณ 47 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับสายตาของมนุษย์  


เลนส์มาตรฐาน  (Normal lens หรือ Standard lens)
มีความยาวโฟกัสตั้งแต่ 40 - 58 มม. องศาในการรับภาพประมาณ 47 องศา เหมาะสำหรับถ่ายภาพทั่วไป

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

เทคนิคการถ่ายภาพ ซีลูเอท


           ภาพซิลูเอท (Silhouette) พูดง่ายๆก็คือ ภาพเงาดำ นั่นเอง โดยลักษณะของภาพแบบนี้ก็คือเราจะเห็นวัตถุในภาพเป็นเพียงรูปทรงสีดำ ไม่มีรายละเอียดอะไรในรูปทรงนั้นๆ ภาพแบบนี้เราสามารถถ่ายทำได้ง่ายๆ เนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในรายละเอียดของตัวแบบทำให้วิธีการ
                วิธีการก็คือ ให้เราถ่ายภาพย้อนแสงนั่นเอง ถ้าหากเราต้องการความดำแบบชัวร์ๆ ก็สามารถทำได้โดยใช้การวัดแสงเฉพาะจุด เช่น วัดแสงไปที่ท้องฟ้า หรือ พระอาทิตย์ กล้องจะถ่ายรูปที่ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงจนแสงสำหรับตัวแบบของเราไม่พอ
แล้วทำไมเราต้องถ่ายภาพซิลูเอท
เหตุผลนั้นมีหลายประการ เช่น เราต้องการนำเสนอรูปทรงที่น่าสนใจของวัตถุต่างๆ เราก็สามารถนำเสนอได้ในรูปแบบซิลูเอท เพื่อให้จุดสนใจอยู่ที่รูปทรงอย่างเดียว ผู้ชมไม่ต้องวอกแวกไปกับรายละเอียดของตัวแบบ หรือ ตอนถ่ายภาพนั้นไม่มีอุปกรณ์เสริมที่เพียงพอ เช่น ไปถ่ายภาพพระอาทิตย์ตก ไม่มีฟิลเตอร์ GND ก็ถ่ายเป็นรูปซิลูเอทมาก็สวยได้เช่นกัน




การถ่ายภาพโดยใช้แฟลช
                แฟลชก็เป็น อุปกรณ์เสริมในการถ่ายภาพ โดยปัจุบันสามารถนำแฟลชมาใช้ในงานต่างๆเพื่อเพิ่มความแตกต่างให้การการถ่ายภาพ และให้ภาพถ่ายนั้นสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
                แสง คือ ปัจจัยสำคัญที่สุดของการถ่ายภาพ หากไม่มีแสงก็ไม่สามารถถ่ายภาพได้ โดยทั่วไปแล้วเราอาศัยแสงจากธรรมชาติหรือแสงอาทิตย์ แต่แสงอาทิตย์มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่สามารถควบคุมได้ จึงได้มีการคิดค้นแฟลชเพื่อช่วยให้เป็นแหล่งกำเนิดแสง
          แฟลช (Flash) มีลักษณะเป็นไฟวาบสว่างขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เป็นอุปกรณ์จำเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่สภาพแสงธรรมชาติไม่เป็นตามที่นัก ถ่ายภาพต้องการ ซึ่งเชื่อว่าไม่มีนักถ่ายภาพคนใดไม่รู้จักแฟลช และยังเชื่อต่อไปอีกว่ามีนักถ่ายภาพจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจเรื่องแฟลชดีมากพอ ในบทความนี้จะแนะนำการใช้แฟลชขั้นพื้นฐาน จะเน้นการนำไปใช้งานทั่วไป และสอดแทรกข้อมูลทางเทคนิคบ้าง
                หลักการทำงานของแฟลชแบบ TTL คือแฟลชจะยิงแสงพรีแฟลชออกไปเบา ๆ ก่อนยิงแสงแฟลชจริง แล้ววัดค่าแสงแฟลชที่สะท้อนวัตถุผ่านเลนส์เข้ามา พร้อมกับนำค่าระยะห่างของวัตถุและค่าขนาดช่องรับแสงมาคำนวณก่อนที่ยิงแสง แฟลชจริงออกไป ในบางระบบบันทึกภาพแฟลชจะทำงานเองโดยอัตโนมัติ ที่กล่าวมานั้นเป็นการใช้งานในระบบบันทึกภาพแบบ Creative (P, S, A, M) ซึ่งเป็นระบบที่นักถ่ายภาพต้องควบคุมระบบแฟลชเอง
                การถ่ายภาพในที่มืด ในบางครั้ง เราอาจจะใช้ การ ดันISO ให้สูงๆ แล้วถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย แต่สิ่งที่ตามมากลับเป็น Noise (หรือ สัญญาณรบกวน) ตามมาจนทำให้ภาพ แทบดูไม่ได้   แต่เราสามารถใช้แสงประดิษฐ์ ที่เรียกว่าแฟลช นี้มาเพื่อ การถ่ายภาพกลางคืน โดยที่เราสามารถใช้แฟลช เพิ่มเพิ่มความหน้าสนใจให้กับภาพถ่ายของเราได้อีกหลายวิธี

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

การถ่ายภาพกลางคืน


           การถ่ายภาพกลางคืน (NIGHT LIGHT) ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เรา สามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพได้เช่นเดียวกับการถ่าย ภาพในเวลากลางวัน แต่จะมีเทคนิคดังต่อไปนี้
          การถ่ายภาพกลางคืนไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นจนเกินไป โดยเฉพาะแสงสีในเมืองนั้น สามารถถ่ายภาพให้ดู สวยงามได้ง่ายๆ เพียงแต่มีกล้องที่ปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ และหาวิธีป้องกันภาพสั่นไหวจากความเร็ว ชัตเตอร์ต่ำ หากถือกล้องด้วยมือ ภาพที่ได้จะเบลอไม่คมชัด วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ขาตั้งกล้อง ซึ่งจะช่วยลดการ สั่นไหวได้เป็นอย่างดี หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆ เช่น 1 วินาที หรือต่ำกว่านั้น ไม่ควรใช้นิ้วกดปุ่ม ชัตเตอร์โดยตรง เพราะเพียงกดชัตเตอร์เบาๆ ก็อาจเกิดการสั่นไหวจนส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความคมชัด ควรใช้สายลั่นชัตเตอร์ แต่ถ้าไม่มีก็ใช้ระบบถ่ายภาพหน่วงเวลาก็ได้ กล้องบางรุ่นเลือกหน่วงเวลาช่วงสั้นๆ เช่น 2 หรือ 3 วินาที ทำให้ถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องรอคอยนานเกินไป สำหรับกล้องดิจิตอลเมื่อมีสิ่งรองรับ กล้องที่มั่นคง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความไวแสงสูงๆ ควรปรับ ISOไปที่ต่ำสุด เพื่อให้ภาพที่ได้มี Noise น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
                การถ่ายภาพกลางคืน จะใช้โหมดที่ทำให้ การเปิดรับแสงของหน้ากล้อง ช้าลงกว่าเดิม หรือไปเพิ่มส่วน ของความไวแสงของตัวรับแสงให้มากขึ้น ดังนั้นเมื่อเราลอง ปรับการถ่ายรูปมาโหมด ถ่ายกลางคืน จะสังเกต ว่า ภาพที่ อยู่ในจอ จะเคลื่อนไหวเหมือนภาพสโลว์เวลาเราเลื่อนกล้องไประหว่างการเล็งถ่ายภาพดัง นั้น ภาพที่ อยู่หน้ากล้อง เวลาที่ถ่ายโหมดกลางคืน ถ้าเป็นวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว ก็ จะเกิดเป็น เส้น ของการเคลื่อนไหว เช่น ถ่ายรูปรถที่กำลังวิ่ง อยู่ตอนกลางคืนด้วย โหมด ถ่ายกลางคืน ไฟหน้า ไฟท้าย จะเป็นเส้น ยาวๆ หรือในทางกลับกัน หาก วัตถุที่เราจะ ถ่ายในโหมดกลางคืน ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว แต่ มือเรา ดันเคลื่อนไหวตัวกล้อง ซะเอง ขณะกด ชัตเตอร์ผลก็คือภาพ จะเป็นเส้นเช่นเดียวกัน

ดังนั้นหลักการถ่ายภาพกลางคืนโดยการใช้โหมดกลางคืนนั้น มีวิธีการดังนี้
1. การปรับ เอ๊กส์โพส ควรปรับ ให้ โอเวอร์ ประมาณ +0.3 ขึ้นไป จน ถึง 1.2 โดย ยิ่งปรับ โอเวอร์มาเท่าไหร่ มือ
ต้อง ยิ่งนิ่งขึ้นไปเท่านั้น ถ้าต้องปรับเอ๊กส์โพส เยอะมากๆ ควรใช้ ขาตั้งกล้อง หรือ ที่วาง สำหรับ ถ่ายภาพน่าเหมาะสมกว่า
2. แนะนำให้เลือก อุณหภูมิสี แบบ แสงนีออน
3. ขณะเล็งจะถ่ายรูป พยายามดู ว่า สังเกต เห็น Noise ในหน้าจอหรือไม่ เพราะถ้าเห็น ในขณะ ถ่าย เมื่อนำภาพที่ถ่ายลง
คอมพิวเตอร์ ภาพที่ถ่ายมานั้นจะยิ่งมี Noise มากขึ้นอีก
4. สิ่งที่บ่งชี้ได้ ง่ายๆ เลย เรื่อง Noise มากหรือน้อย หาก ถ่ายโหมดกลาง คืน แล้ว เวลากด เล็งโฟกัส หาก สามารถ
โฟกัสได้เร็ว โดยที่ เราก็ปรับ เอ๊กส์โพส ไว้เยอะ นั่น หมายถึง รูปนั้น จะ คมชัด และมี Noise ไม่มาก ต่างกับรูปที่เราต้อง
ใช้เวลา หาโฟกัส อัตโนมัตินานๆ
5. ข้อ สำคัญ เมื่อกด ชัตเตอร์ลงไป แล้ว ควรจะ นิ่ง อยู่ สัก 1 วินาที ก่อน เปลี่ยน ตำแหน่งกล้อง
6. และสุดท้าย ถ้าไม่มีขาตั้งกล้อง สิ่งที่สำคัญนั้นคือมือต้องนิ่งมากๆ เอา แบบว่าตอนกดชัตเตอร์หยุด หายใจเลยได้ ยิ่งดี





Portrait การถ่ายภาพเน้นบุคคล


Portrait  คือการถ่ายภาพที่เน้นบุคคล นิยมตั้งรูรับแสงให้กว้างหรือก็คือการตั้ง f ต่ำๆ เพื่อให้ฉากหลังเบลอ ที่เรียกกันว่า ฉากหลังละลาย การตั้งรูรับแสงให้กว้างสุดได้เท่าใดขึ้นกับคุณภาพของเลนส์เป็นสำคัญ เลนส์ที่มีราคาสูงมักมี f ที่ต่ำกว่านั่นหมายถึงสามารถถ่ายฉากหลังให้ละลายได้มากกว่า เลนส์ที่นิยมได้แก่เลนส์ f 2.8 อีกประการนึงการที่รูรับแสงกว้างจะทำให้ความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้นโดยอัตโนมัติ ถ้าตั้งโหมด AUTO หรือโหมด A ในกล้องทั่วไป การที่ความเร็วชัตเตอร์เพิ่มขึ้นทำให้ภาพไม่สั่น เมื่อขยายดูใกล้ๆจะเห็นความคมชัดของภาพ สูงกว่าภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ที่มีราคาต่ำกว่า

                วิธีการถ่ายภาพ Portrait ด้วยแสงธรรมชาติให้สวยทั้งแบบ Indoor และOutdoor จำเป็นต้องมีอุปกรณ์เสริมมากบ้างน้อยบางตามแต่สถานการณ์หรือแนวคิดของแต่ละ คน ที่เห็นนิยมกันมากก็จะมีแผ่นสะท้อนแสง (Reflector) หรือไฟแฟลชแบบชนิดติดหัวกล้อง บางคนมีความชำนาญมากหน่อยก็แยกแฟลชออกจากตัวกล้อง ในเรื่องของสถานที่ถ่ายภาพก็มีส่วนสำคัญในการทำให้ภาพพอร์ทเทรต ดู น่าสนใจขึ้น
ลักษณะของแสงในการถ่ายภาพพอร์เทรต
มีหลัก ๆ อยู่ 2 แบบคือ แสงนุ่ม และแสงแข็ง
1.              แสงนุ่ม คือ แสงในวันที่ฟ้าหลัว มีเมฆมาก หรือแสงจากภายในอาคาร หากเป็นแสงจากแฟลช ก็ต้องยิงผ่านซอฟท์บอ๊อกซ์ ผ่านร่มสะท้อน ร่มทะลุ หรือเครื่องกรองแสงประเภทต่าง ๆ เป็นแสงที่ให้ความสว่างกับวัตถุ แต่จะไม่มีเงาเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อยมาก
          คุณสมบัติของแสงแข็ง คือ ให้คอนทราสต่ำ ให้รายละเอียดของวัตถุได้สูง ให้ภาพที่ดูนุ่มนวลตากว่า แต่ก็เป็นแสงประเภทที่ทำให้วัตถุดูแบน ๆ ขาดมิติ
2.           แสงแข็ง คือ แสงจากแหล่งกำเนิดแสงตรง ๆ แรง ๆ เช่น วันที่ฟ้าไร้เมฆ ดวงอาทิตย์ลอยเด่นทั้งวัน หรือแสงจากแฟลชที่ยิงเข้าวัตถุตรง ๆ โดยไม่ผ่านเครื่องกรองแสดงใด ๆ หรือแม้กระทั่งไฟจากสปอตไลทืที่ฉายเข้าววัตถุจากในระยะใกล้ก็ถือเป็นแสงแข็ง ได้เช่นกัน
คุณสมบัติของแสงแข็ง ก็คือ ให้ คอนทราสจัด ให้สีสันที่สดใสจัดจ้าน ให้ภาพที่ดูคมและแข็ง แต่ก็อาจทำให้วัตถุขาดรายละเอียดในบางส่วน เช่น ส่วนที่มีสีขาวจัด ๆ ส่วที่สะท้อนแสงด้ดี และส่วนที่อยู่ในเงามือด และก็เป็นแสงประเภทที่ทำให้วัตถุดูมีมิติ มีความลึกได้ชัดเจนกว่าแสงนุ่ม
เทคนิคเบื้องต้นสำหรับการถ่ายภาพพอร์เทรต
                การเลือกหรือจัดแสงว่าเราต้องการให้ภาพออกมาในอารมณ์หรือบุคลิคแบบไหน ก็จัดแสงให้ได้อย่างนั้น ความชำนาญเท่านั้นที่จะช่วยคุณได้ในกรณีนี้ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการทำการบ้านให้หนัก ฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเอาไว้เยอะ ๆ เมื่อเจองานจริง ๆ จะได้มีข้อผิดพลาดน้อยที่สุด
          การโฟกัส ต้องเน้นที่ตา ให้เข้าโฟกัสแบกริ๊บ ๆ ดีที่สุด จำไว้ให้ดีว่าการถ่ายภาพสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด(ยกเว้นพืช) สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรจะให้ชัดก็คือดวงตา หูจมูกปาก อาจเบลอได้ไม่เสียหายอะไร แต่ถ้าดวงตาเบลอส่วนมากแล้วภาพนั้นจะเป็นภาพเสียมากกว่าภาพดี
          ช่อง รับแสง ควรเลือกใช้ช่องรับแสงอยู่ราว ๆ F/2.8-4  หรือ F/5.6 ก็ยังได้ ถ้าถ่ายในระยะใกล้มาก ๆ รับรองว่าฉากหลังยังไงก้เบลอ เพราะที่ช่องรับแสงกว้างสุดแถว ๆ F/1.2 หรือ F/1.4 หรือแม้แต่ F/1.8 นั้น หากถ่ายในระยะใกล้มาก ๆ ช่วงความชัดที่เกิดขึ้นว่ากันเป็นเซนติเมตร หรือาจจะแค่มิลลิเมตรเท่านั้น มือไม่นิ่ง แบบไม่นิ่งจริง หรือโฟกัสไม่ถูกตำแหน่งจริง ๆ จะเสียคนเอาได้ง่าย ๆ




Basic 09 ระวังเวลาถ่าย ภาพทะเล หรือ ภาพวิว อย่าให้ขอบฟ้าเอียง

       คำว่าขอบฟ้าเอียง ฟังดูแล้วอาจจะงง ดูรูปประกอบภาพที่ 1 จะเห็นว่า ท้องทะเลมันเอียง เห็นไหมครับ ไม่ควรให้เหตุการณ์เกิดขึ้นกับภาพของคุณนะครับ ไม่ว่าจะเป็นทะเล วิว ภูเขา ถ้ามีเส้นขอบฟ้า หรือ นำสายตา ควรจะดูเสมอว่า ไม่เอียง นอกเสียจากว่าคุณจงใจจะให้เอียงเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน ก็ไม่เป็นไร

                                        
      
        ภาพที่ 1 ขอบฟ้าเอียงเหมือนน้ำทะเลกำลัง จะหก เลยใช่ไหมครับ..อย่างนี้ไม่ดีครับ


                                        
       
        ภาพที่ 2 ภาพที่ดีขอบฟ้าควรจะขนาน และ ตรง ไม่เอียงดังตัวอย่างภาพนี้

สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. จำไว้นะครับ ไม่ควรให้ขอบฟ้า ในภาพของคุณเอียง ทำให้ภาพนั้นเสียความงาม
 ไปได้ บางสถานที่เราไม่ได้ไปบ่อย ๆ 


ที่มา http://www.ohophoto.com

Basic 08 ถ่ายภาพผ่านกระจกในที่แสงน้อย แถมเรื่องแฟลชอีกหน่อย...

          ฝากอีกสักหน่อยนะครับ จะได้ต่อเนื่อง การใช้แฟลซง่าย ๆ ที่สุด คือการถ่ายผ่านกระจก ถ้าเราถ่ายตรง ๆ แสง จะสะท้องกระจกกลับมา แต่ถ้าถ่ายมุงเฉียง ๆ หน่อย ก็จะได้ภาพที่สวยงาม ใสปิ๊ง ขอบคุณภาพเทคนิค ภาพที่ 1 จาก สยามโอเชี่ยนเวิล์ด สยามพารากอนครับ

                                        
      
            ภาพที่ 1 แสดงการถ่ายภาพ เปิดแฟลซผ่านกระจกที่ถูก และ ผิด

                                        
       
           ภาพที่ 2 ถ้าถ่ายผิด คือ ถ่ายตรง ๆ ผลก็จะเป็นดังภาพนี้ครับ

                                       
    

           ภาพที่ 3 แม้จะเปิดแฟลซค่อยลง ก็่ช่วยได้ไม่มาก                 
                                      
       

          ภาพที่ 4 แต่ถ้าคุณเอียงกล้องทำมุม ตามวิธีการในภาพที่ 1 ผลก็จะได้ภาพที่ใสปิ้งสวยอย่างภาพนี้ครับ หลักการนี้ไม่ยากเลยใช้ไหมครับ แต่มือใหม่หลายท่านไม่ทราบ คราวนี้ภาพปลา สวย ๆ เสร็จเราแน่

  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. ถ้าต้องถ่ายภาพผ่านกระจก ให้เอียงทำมุมสักหน่อย อย่า ถ่ายตรง ๆ เพราะ
 จะทำให้แสงแฟลช สะท้องเข้ามาในภาพ


ที่มา http://www.ohophoto.com

Basic 07 ถ่ายกลางคืน เปิดแฟลซแล้ว ภาพไม่สวยเลย (เกี่ยวเนื่องกับข้อ 6)

        ไหน ๆ ก็กล่าวถึง การใช้แฟลซ ช่วยแล้วในข้อที่ 6 คือ ถ่ายย้อนแสง ยังมีอีกสถานการณ์หนึ่งครับ คือ เปิดแฟลซ เพื่อถ่ายภาพตอนกลางคืน แต่ฉากหลัง สวย ๆ หายไปหมดเลยข้อ 6 ฉากหลัง ยังอยู่ แต่คนมืดดำ ในข้อนี้ ฉากหลังมืดดำ แต่คนขาว จั๊วะ เหมือนกับเรายืนถ่าย กับผนังห้องสีดำ แล้วจะถ่ายไปทำไมกันนี่ ....... อย่าพึ่ง ต๊กใจ ครับ... วิธีแก้ง่ายนิดเดียว กล้องทุกวันนี้ จะมีโหมด ง่าย ๆ ให้เราใช้หนึ่ง โหมด แต่มือใหม่เรามักจะไม่ค่อยสนใจ หรือ ไม่รู้ว่าประโยชน์มันคืออะไร เขาเรียกภาษาอังกฤษว่า Slow Synchronize flash อ่านว่า สโลว์ซิงโครไนซ์แฟลซ แปลว่า แฟลซที่สัมพันธ์กับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ อย่าพึ่งตกใจนะครับ เดี๋ยว หาว่า นี่ไม่ใช่เรื่องของมือใหม่ลอง เปิดกล้องของท่านดู จะพบว่า การตั้งแฟลซ แบบนี้ง่ายนิดเดียว คลิกไม่กี่ทีเอง ลองดูแล้ว ฉากหลังงาม ๆ ก็จะมาอยู่กับรูปสวย ๆ หล่อ ๆ ของคุณครับ
                  

                                          
       

        ภาพที่ 1 รูปข้าพเจ้าเองครับ ไม่ได้ยืนอยู่ ในห้องสีดำนะครับ แต่เปิดแฟลซแบบธรรมดาถ่ายออกมา ก็เลยเป็นแบบที่เห็น ๆ นี่ละครับ แก้ไขได้ตามภาพที่ 2 ครับผม

                                          
       

         ภาพที่ 2 นั่นแน่... จริง ๆ แล้วฉากหลังของผมสวยมากครับ เป็นโรงแรมแห่งหนึ่ในกรุงเทพ ผมยืนอยู่บนสะพานกรุงเทพ ภาพนี้ถ่ายได้โดยการใช้แฟลชสัมพันธ์กับความเร็วชัตเตอร์ ต่ำ ครับผม ลองฝึกดูนะครับ

                                         
       

        ภาพที่ 3 ภาพนี้ก็เกิดขึ้นบ่อย ๆ และน่าเสียดายมาก คือ ถ่ายรูปหมู่กับฉากหลังมืด ๆ
                 
                                         
       

        ภาพที่ 4 สถานการณ์เดียวกัน คือถ่ายภาพกับ โลกใต้ทะเล แต่ภาพที่ 4 เห็นทั้งคนเห็นทั้งปลา เอาไปอวดใครก็ได้ว่าดูสิปลาตัวใหญ่กว่าฉันอีก .. อะไรทำนองนี้ครับผมภาพ นี้ก็ใช้ สโลว์ซิงโครไนซ์แฟลซ ครับผม ถึงตรงนี้ หลายคนคงอยากกับไปแก้มือแล้วใช่หรือเปล่าครับ อย่าลืมนะครับ หากพบสถานการณ์นี้อีก คำนี้เลยครับ 
สโลว์ซิงโครไนซ์แฟลซ


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. สโลว์ซิงโครไนซ์แฟลซ แปลว่า แฟลซที่สัมพันธ์  กับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ
 เป็นโหมดง่าย ๆ ที่เราควรใช้ได้ครับ จะทำให้เราถ่ายภาพกลางคืนได้สวยขึ้น
        2. 
แต่มีสิ่งที่ต้องจดจำอยู่อย่างคือ เมื่อความเร็วชัตเตอร์ต่ำ แสดงว่า ภาพมีโอกาส
 สั้นไหว หรือเบลอได้ง่าย ควรจับกล้องนิ่ง ๆ หรือ ใช้ขาตั้งกล้องช่วย

ที่มา http://www.ohophoto.com

Basic 06 รูปเสียมากมาย เพราะ ถ่ายย้อนแสง แก้อย่างไร..

           ไม่น่าเชื่อครับว่ามีภาพเป็นจำนวนมากมาย ที่ต้องเสียไปเพราะ ผู้ถ่ายไม่ทราบหลักการนี้เรื่องของเรื่อง คือ ก่อนถ่ายภาพทุกครั้ง ให้ดูทิศทางของแสงก่อน เสมอ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรถ่ายภาพในสถานการณ์ย้อนแสง คือ แสงด้านหลังมีความสว่างมาก ถ่ายออกมาก็จะเกิด ดังภาพตัวอย่างที่ 1 และ 2 หลักการแก้ไข ก็มีครับ ในระดับเบื้องต้น ขอให้แก้ไขง่าย ๆ ก่อนคือ แก้ไข โดยการ เปิด แฟลซ แค่นั้นเอง ครับ การเปิด แฟลซ นั้น แม้บางครั้ง การแดดเห็นช่างภาพบางคนเปิดแฟลซ ถ่ายรูป อย่า ไปตลกเขานะครับ นั้นเขาทำดีและ ถูกต้องครับแต่ถ้า ภาพที่คุณถ่าย ย้อนแสง แต่เป็นวัตถุขนาดใหญ่ และ อยู่ใกล ๆ ก็ต้องคอยดูความรู้ระดับกลาง แล้วครับ เพราะ นั้นคุณต้องเรียนรู้ การวัดแสงเฉพาะ จุด ซึ่งยุ่งยากว่าตอนนี้ จำง่าย ๆ คือ ถ้าจำเป็นต้นถ่ายย้อนแสง เปิดแฟลซ ทุกครั้งนะครับ.......


                                         
       

          ภาพที่ 1 เสียดายจังภาพหลานชายภาพนี้ เห็นแต่ทะเล แต่ไม่เห็นคน เพราะถ่ายภาพย้อนแสง ถ้าหามุมใหม่ อาจจะได้ภาพที่สวยกว่านี้

                                         
       

          ภาพที่ 2 ภาพนี้ก็ย้อนแสงเช่นกัน ไม่น่าเชื่อใช่ไหมครับ ว่าแค่หน้าต่าง บานสองบานก็ทำให้เราไม่สามารถถ่ายภาพได้แล้ว อย่างนี้ก็ถือว่าย้อนแสงครับ ถ่ายมาก็เสียหมด 

                                         
      

            ภาพที่ 3 รูปเดียวกัน สถานที่และวันเดียวกันกับภาพที่ 2 แต่ดูสนใจกว่า แก้ไขง่าย ๆ คือเปิดแฟลซ เท่านั้นเอง ก็สามารถเก็บภาพงาม ๆ นี้ไว้ให้หลานชายเป็นที่ระลึกได้แล้ว

                  

  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. ไม่ควรถ่ายภาพย้อนแสง ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ
        2. 
ถ้าจำเป็นต้องถ่ายภาพย้อนแสงเมื่อไหร่ ก็อย่างลืมเปิดแฟลซ ด้วยนะครับ 

ที่มา http://www.ohophoto.com/

Basic 05 จังหวะ จังหวะ จังหวะ ทำให้เราได้ภาพที่น่าสนใจ

         ตรงนี้ คงไม่ได้อยู่ที่กล้องราคาแพง หรือ มีคุณสมบัติเลศเลอ ครับ แต่เป็นความสามารถ ในการถ่ายในจังหวะที่ดีกว่า ย่อมได้ภาพที่ดูมีชีวิตชีวา มากกว่า บางคนถาพเหมือนกัน แต่ ทำไมดูดี หรือ ดูน่าสนใจต่างกัน ลองดูภาพด้านล่านี้แล้วประยุกต์ใช้กับ ภาพต่าง ๆ นะครับ

                                           
     

       ภาพที่ 1นกเดินเรื่อยเปื่อย เราสามารถถ่ายภาพนี้ได้ไม่ยาก เพราะนกพิราบเชื่อง กว่านกอื่น ๆ แต่ดูรูปที่ 2 พบว่า ภาพน่าสนใจกว่า

                                           
     

      ภาพที่ 2 กดชัตเตอร์ จังหวะที่นกมองมายังเราพอดี ดูตามันสิ .. รอจังหวะย่อมได้ภาพ ที่ดีขึ้น 

                                            
      

         ภาพที่ 3 ภาพคุณกา ที่มาเกาะอยู่ใกล้ ๆ ก็ว่าถ่ายยากเพาะไม่เชื่องเท่าไหร่แต่ธรรมดา เกินไป ครับ ลองดูภาพด้านล่างสิครับ

                                             
      

          ภาพที่ 4 กาาาาาาาาา กาาาาาาาาา พอคุณกา ร้อง กดชัตเตอร์พอดี เห็นไหมครับว่า ภาพตลก และ ดูมีชิวิตขึ้นมาทันที 

 สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. ภาพบางภาพรอจังหวะ อีกนิด จะได้ภาพที่มีชีวิตชีวา
        2. 
ต้อง สังเกตุ และ คาดเดา ว่าจะมีเหตุการณ์อะไร น่าสนใจ แล้วกดชัตเตอร์ให้ทัน
           ทำให้ภาพนั้นมีคุณค่ามากขึ้น หลายคน ถ่ายตอนกระโดด ก็มี หรือ ถ่ายภาพตอน
           กำลังหัวเราะ อะไรทำนองนี้ หรือ ถ้าคุณถ่ายแมว หาว งูแลบลิ้น ได้อะไรทำนองนี้
           ภาพที่ได้จะน่ารักมากครับ ลองดูนะครับ จังหวะ จังหวะ จังหวะ

ที่มา http://www.ohophoto.com

Basic 04 ทางยาวโฟกัส ง่ายมาก ไม่พูดเลยเดี๋ยวพื้นฐานจะไม่ครบ จ้า...

           เวลาเพื่อน ๆ ซื้อกล้องมาเคยสังเกตุไหมครับว่าซูมสูงสุดได้เท่าใด เรารู้ได้จากกล้องจะตัวเลขบอกไว้ เช่น 35-105 mm หรือ 28-200 mm บางที ก็ดูง่าย ๆ ที่ 3 X , 6 X10 x , บางรุ่น ถึง 12 x หรือ 420 mm เลยทีเดียว
ทางยาวโฟกัส ยิ้งน้อย คือ 28 , หรือ 35 เรียกว่า มีเลนส์มุมกว้าง ทำให้ถ่ายภาพได้มากกว่าในระยะเดียวกัน คือ อยู่ในห้องแคบ ๆ ก็ถ่ายคนยืนหน้ากระดานได้ นับ 10 คน แต่กล้องบางตัว ต้องออกไปถ่ายนอกประตูห้อง เลยทีเดียว อย่างนั้น แสดงว่ามีทางยาวโฟกัสต่ำสุดมากทางยาวโฟกัส ตั้งแต่ 80 mm ขึ้นไปเราเรียกว่า เลสน์ซูม หรือ ถ่ายไกล คือ สามารถดึงรูปที่อยู่ไกล ๆ มาให้อยู่ไกล้ ๆ ได้ ดูภาพด้านล่างประกอบนะครับ แล้ว ในการเลือกซื้อกล้องก็อย่าลืมดูเสมอ ว่ามีเลสน์ที่มีทางยาวโฟกัส เท่าใด เพียงพอกับการใช้งานหรือไม่..รูปทั้ง 4 รูป ด้านล่าง ผมยืนถ่ายรูป จากที่เดียวกัน จุดเดียวกันแต่ถ่ายภาพด้วยทางยาวโฟกัสที่ต่างกัน ได้ผลต่างกัน ดังนี้ครับ


                                          
       

          ภาพที่ 1ถ่ายด้วยมุมกว้างสุด คือ 28 mm จะเห็นว่ามองเห็นได้กว้างไกล ทำให้เลนส์ มุมกว้างนี้เหมาะกับการถ่ายภาพวิว เป็นอย่างยิ่ง หรือ ถ่ายในอาคาร ก็ทำให้เราเห็นได้มาก กว่าปรกติ ไม่ต้องถอยออกไปไกลเวลาถ่ายรูป

                                          
       

           ภาพที่ 2 ถ่ายด้วยความยาวโฟกัส 100 mm เห็นไหมครับว่าใกล้ขึ้นมาก
                   

                                          
       

            ภาพที่ 3 ถ่ายด้วยความยาวโฟกัส 150 mm
                   

                                          
      

           ภาพที่ 4 ถ่ายด้วยความยาวโฟกัส 200 mm ถ้าดูเทียบกับรูปแรก เห็นได้ชัดเลยว่ากล้องสามารถซูมเข้าไปใกล้มาก ทั้ง ๆ ที่ยืนที่เดิม เข้าใจเรื่องทางยาวโฟกัสดีแล้วนะครับคราวนี้ แต่มีปัญหาที่ต้องระวัง 2 ประการ คือ ขณะที่ซูมมากๆ ความสว่างของกล้องและ ความไวของชัตเตอร์ จะลดลง ทำให้เราต้องถือกล้องให้นิ่งที่สุด หรือ ใช้ขาตั้งกล้อง ซึ่งหลายคนจะพบว่า เวลาซูมมาก ๆ ภาพที่ได้อาจมีการเบลอ บ้าง ด้วยเหตุผลนี้เองครับ

สรุป เราได้อะไรจากบทนี้

        1. เลนส์มุมกว้าง คือค่าน้อยกว่า 35 mm ทำให้เราถ่ายได้พื้นที่ภาพมากขึ้น
        2. 
เลนส์ซูม หรือ เลนส์เทเล หรือ เลสน์ถ่ายไกล แล้วแต่จะเรียก ทำให้เราดึงวัตถุ
          ที่อยู่ไกล ๆ ให้เข้ามาใกล้ได้ ทำให้ไม่ต้องเข้าไปหาวัตถุนั้นมากเกินไป
        3. ขณะที่ถ่ายด้วยการซูม ให้ถือกล้องนิ่ง ๆ เพราะปกติ ความเร็วชัตเตอร์จะลดลง
          หากไม่นิ่งภาพอาจเบลอได้ หรือ ควรใช้ขาตั้งกล้อง เช่นถ่ายภาพนก เป็นต้น

ที่มา  http://www.ohophoto.com

Basic 03 ถ่ายภาพนก ได้มาแต่ลูกกรง แก้ไขอย่างไร

            ปัญหานี้มักเกิดขึ้นตอนเราไปเที่ยวสวนสัตว์ ใช่ไหมครับ ถ้ามือเก่า ๆ (อาจแก่ด้วย) ก็คงไม่มีปัญหากับการถ่ายภาพในกรง วิธีการแก้ไข ตรงนี้ มือใหม่ ถ้าทำได้ ก็ถือว่าเก่งขึ้นแล้วครับไม่ใช่เรื่องยากอะไรเลย เพียงรู้จักการกดชัตเตอร์ ลงครึ่งเดียว มือใหม่หลายคน ไม่ยอม หรือไม่เคยรู้เลยครับ ว่าแค่กดชัตเตอร์ลงครึ่งเดียว ก่อนการกดจริง จะทำให้ได้ภาพที่ดี ๆ มากขึ้น   วิธีการคือ เล็ก โฟกัส ไปที่นก แล้วกดชัตเตอร์ ลงครึ่งเดียว พอกล้องจับภาพนกในกรงชัดก็จะมีเสียง ติ๊ดๆ เสียง กล้องนะครับ ไม่ใช่รอฟังเสียงนะ..แฮะ ๆ ก็กดชัตเตอร์ลงไปให้สุดจนตัด แชะ เท่านี้ก็ได้ภาพนกแล้วครับอีกสักนิด หากว่าเล็งอย่างไร ก็มียอมโฟกัสทะลุกรงได้ เกิดกับกล้องบางชนิดที่อาจมีความสามารถในการโฟกัส ไม่ดีหรือดีเกิน ใช้วิธีง่าย ๆ คือ ดูระยะว่านกห่างจะกรง กี่เมตร สมมุติว่าหากจากกรง 2 เมตร เราก็เอากล้องไปถ่ายสถานที่ข้างเคียงหาวัตถุอะไรก็ได้ที่ห่างกล้องประมาณ 2 เมตร มีสภาพแสงไม่ต่างกันนัก เล็งวัตถุอันนั้น แล้วกดชัตเตอร์ ให้โฟกัส แล้ว ก็ค้างไว้ ค้างไว้ รีบหัน กลับมาที่กรง เล็งนกตัวเดิม แล้วกด แชะ เลย รับรองวิธีนี้ไม่มีพลาดลองดูนะครับ แล้วจะได้ความรู้ เพิ่มความสามารถในการใช้กล้องขึ้นถึง 2 แบบเลยคราวนี้

                                               
       

         ภาพที่ 1 ถ่ายภาพนก แต่ กล้องโฟกัส ที่กรงเลยไม่เห็นนกเลย

                                              
      

         ภาพที่ 2 หลังจากโฟกัสไปที่นกก่อน แล้วค่อยกดโฟกัส ค้างไว้จนชัด แล้ว กดชัตเตอร์ จะเห็นว่าเราได้ภาพนกที่ชัดเจน แทบจะไม่เห็นกรงเลย 

                                              
       ภาพที่ 3 หากฝึกจนชำนาญ ก็แทบจะทำให้กรงหายไปเลยครับ หรือ หากเรานำไปตกแต่งเล็กน้อย คือตัดเอาเฉพาะส่วนที่เป็นตัวนกก็จะได้ภาพงาม ๆ เลยทีเดียวละ..


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. ควรกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ทุกครั้ง ก่อนถ่ายภาพ เพื่อโฟกัสก่อน
        2. 
หากการโฟกัสยากในบางสถานการณ์ ก็ให้โฟกัส ที่อื่นที่ระยะเท่ากันก่อนแล้ว
          ค่อยกลับมา กดชัตเตอร์ ภาพที่เราต้องการ แต่การโฟกัสที่อื่น ควรมีสภาพแสงที่
          เหมาะสมด้วย นะครับ

ที่มา http://www.ohophoto.com

Basic 02 ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น ด้วยการเพิ่มค่า ความไวแสง

          จริง ๆ แล้วเรื่องความไวแสง หรือ ค่า ISO นั้น บางคนบอกว่าไม่น่าจะเป็นความรู้ระดับเบื้องต้น แต่ผมมองต่างกันครับ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ง่ายมาก ๆ และ เป็นปัญหาคาใจของนักถ่ายรูปมือใหม่ คือ ทำไม ภาพ เบลอ บางครั้งกล้องคุณป้องกันการสั่นของมือได้ แต่ปัญหา คือ ภาพที่คุณถ่าย ไม่นิ่งครับ ต่อให้มือคุณไม่สั่นเลย ก็ไม่อาจถ่ายภาพคมชัดได้ หากไม่ตั้งค่า ความไวแสง หรือ ISO ให้ถูกต้อง ทั้ง ๆ ที่กล้องทุกวันนี้ มีค่า ISO สูง ๆ กันแล้วทั้งนั้น เราเสียเงินซื้อกล้องแพง ต้องรู้จักใช้ หลักการคือ เมื่อถ่ายภาพในที่ที่มีแสงน้อยหรือ ภาพที่เคลื่อนไหวเร็ว ๆ และแสงไม่พอ อย่าลืมเพิ่มค่า ISO ให้สูงขึ้นด้วยแต่ ถ้าในสภาพแสงดี จงถ่ายด้วย ISO ที่ต่ำที่สุด คือ 100 หรือ 200 เพื่อให้ภาพที่ดีเพราะผลของการเพิ่มค่า ISO คือ จะได้ภาพที่มีเม็ดสีหยาบ หรือที่เรียกว่า noise ครับ

                                         
       

         ภาพที่ 1 ถ่ายภาพ การแสดง ด้วย ISO 200 ทำให้ ภาพไม่คมชัดพอ ไม่สามารถเอาไปโชว์เพื่อน ๆ ได้แล้ว และ เก็บไว้ก็เปลืองพื้นที่ด้วยสิ

                                         
       

          ภาพที่ 2 ปรับค่า ISO ของกล้องเป็น 400 เห็นไหมครับว่า สวยและคมขึ้นได้แสงที่สว่างมากขึ้นด้วย และ ยังเห็นดาบ เป็นความเคลื่อนไหว ที่ดีพองาม คือรู้สึกได้ว่ากำลังสู้กันอยู่ ไม่ได้ ยืนนิ่ง ๆ เอาดาบชนกัน 

                                          
       

          ภาพที่ 3 ภาพนี้ ISO 800 ครับหยุดความเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นมากเลย สังเกตุให้ดีเห็นคนที่นอนหงายท้อง พึ่งจะล้มลง และ ดาบที่ฟันกัน นั้นยังเห็นประกายไฟ กระจายด้วย ภาพก็สว่างมากขึ้น ได้อารมณ์ดี เห็นไหมครับว่าเพียงเราเพิ่มค่า ISO เท่านั้นก็ถ่ายภาพแบบนี้ได้แล้ว แต่ก็ต้องฝึกฝนนะครับ มือใหม่ ก็จะได้กลายเป็นมือโปร กะเขาได้ เอาใจช่วย..นะ


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. เมื่อต้องถ่ายภาพในที่มีแสงน้อยและภาพเคลื่อนไหว อย่าลืมเพิ่ม ISO
        2. 
การเพิ่มค่า ISO หรือ ค่าความไวแสงของกล้อง ทำให้กล้องมีความเร็วชัดเตอร์ขึ้น
        3. สำคัญที่สุดเลย อย่าลืม อย่าลืม อย่าลืม ปรับ ISO กลับไปที่ 100 เหมือนเดิม
          หลังจากถ่ายรูปในที่แสงน้อยเสร็จแล้ว ตรงนี้สำคัญที่สุด ฝึกให้คุ้นเคย .. นะครับ

ที่มา http://www.ohophoto.com

Basic 01 เทคนิคง่ายสุด ๆ มุมมองที่ดีทำให้รูปคุณสวยขึ้น

        ภาพทั้ง 3 ภาพด้านล่างนี้ถ่าย ที่สถานที่เดียวกัน เวลา ใกล้เคียงกัน แต่มุมมองต่างกันก่อนถ่ายภาพทุกครั้ง ถ้าเรานึกมุมมองก่อน เราจะได้ภาพที่ดีขึ้น ในตัวอย่างที่ 1 นี้มุมมอง ให้ความสำคัญที่ ฉากหลัก ดูตัวอย่างพร้อมคำอธิบายประกอบ นะครับ

                                       
       

         ภาพที่ 1 เห็นว่าฉากหลังไม่สวย คือ กดชัตเตอร์ ลงไปเลย โดยไม่ได้คำนึกถึงภาพที่ออกมา ผลก็คือ ฉากหลังดูรก รุงรัง ดูแล้วขัดตาต่างจาก 2 ภาพด้านล่าง

                                       
       

         ภาพที่ 2 ภาพนี้ถ่ายโดยย่อตัวลงมาต่ำกว่าภาพที่ 1 เลือกฉากหลักที่เป็นกำแพงขาว ๆแทนที่จะรกเหมือนภาพแรก ก็ทำให้ภาพดูดีขี้น โดดเด่น คือสิงโต และ ดอกบัวเด่นขึ้น

                                      
       

         ภาพที่ 3 ภาพนี้ต่างกัน คือเข้าไปใกล้ สิงโตให้มากที่สุด และ มองจากมุมสูงลงมาเลือกฉากหลังที่เป็น สระน้ำมีใบบัวอยู่ด้วย เพื่อรับกับ ดอกบัวที่บูชาอยู่หน้าสิงโตบนใบบัวก็ยังมีหยดน้ำอยู่อีก ภาพที่ให้ความรู้สึกที่ดีกว่า 2 ภาพแรกใช่ไหมครับ แต่ถ้าคุณชอบเห็นสิงโตชัด ๆ ก็เลือกแบบภาพที่ 2 จะดีกว่าครับ


  สรุป เราได้อะไรจากบทนี้
        1. ก่อน กดชัตเตอร์ ลองมองดูฉากหลักของรูปด้วย เพื่อจะได้ภาพที่ดีขึ้น
        2. 
มุมมองที่ต่างไป คือ ก้ม เงย เอียง ล้วนมีผลทำให้ได้ภาพที่ต่างไป ก่อนถ่ายรูป
           ลอง ก้ม หรือ เงย ดู บ้างอาจได้มุมมองที่ น่ารัก น่าสนใจ ขึ้นนะครับ


ที่มาจาก  http://www.ohophoto.com