Knowledge Management


ความหมายของ Knowledge Management


          Stair (2001, 202) กล่าวว่า การบริหารจัดการความรู้ เป็นกระบวนการ รวบรวม จัดการ 
ความรู้ ความชํานาญไม่ว่าความรู้นั้นจะอยู่ในคอมพิวเตอร์ ในกระดาษหรือตัวบุคคล โดยมีจุดมุ่งหมาย
เพื่อจัดการให้บุคลากรได้รับความรู้และแลกเปลี่ยนความรู้ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิม
โดยให้เกิดประสบการณ์และความชํานาญเพิ่มขึ้น
          Tiwana (2000, 5) ให้ความหมายการบริหารจัดการความรู้ว่า หมายถึง การจัดการความ
รู้ในองค์กร สําหรับงานด้านธุรกิจ
           Laudon (2000, 435) กล่าวถึง Knowledge Management ว่า การบริหารจัดการ
ความรู้ในองค์การมีความสําคัญเป็นพิเศษในองค์การที่มีลักษณะการบริหารงานแบบแบนราบ และแบบ
เครือข่ายซึ่งในการจัดการในระดับต่างๆ จะมีการจัดการแยกแยะความจริงในส่วนที่จะสามารถนํามา
ช่วยสมาชิกในทีม ในการพัฒนางานในหน้าที่ รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูล เพื่อพัฒนางานในส่วนงานอื่นๆ
 ที่เกี่ยวข้องกันด้วย
           วีรวุธ มาฆะศิรานนท์ (2542, 77-78) กล่าวถึง การบริหารจัดการความรู้ ว่าการบริหารจัด
การความรู้เป็น กระบวนการบริหารรูปแบบใหม่ที่เน้นในด้านการพัฒนากระบวนงานควบคู่ไปกับการ
พัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยทุกกระบวนงานจะต้องสัมพันธ์กับความคิดสร้างสรรค์ ที่เป็นผลมาจาก
การขยายวง และการประสานความรอบรู้รวมถึงการฉลาดคิดไปตลอดทั่วทั้งองค์กรอยู่ตลอดเวลาซึ่งเท่า
กับว่า องค์กรที่มีการบริหารจัดการความรู้นี้อย่างเป็นระบบ ก็จะเกิดเป็นโอกาสอันสําคัญต้อการพัฒนา
ให้เป็นองค์กรที่เปี่ยมไปด้วยการทํางานอย่างฉลาดคิดและสร้างสรรค์ในที่สุด ทําให้องค์กรนั้นสามารถ
เผชิญกับการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ รูปแบบ และสามารถฟันฝ่าอุปสรรคทั้งมวลได้เป็นอย่างดี
           ศรันย์ ชูเกียรติ (2541, 14) การจัดองค์ความรู้ในองค์กร หมายถึง การจัดการและรักษาระดับ
ในการจัดเก็บองค์ความรู้ใน
องค์กรให้เป็นระบบ เป็นระเบียบ ตลอดจนสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้จริงในทางปฏิบัติ

           สรุป การบริหารจัดการความรู้ คือ ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่าย
ต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตาม
ความต้องการเก็บรักษาความรู้ให้ควบคู่กับองค์กรตลอดไป โดยนําเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ


เหตุผลของการนำ Knowledge Management มาใช้  (นภดล สุขสําราญ,254-) มี 3 ประการ ได้แก่

         1. การเปลี่ยนแปลงเทคนิคในการบริหารงาน เทคนิคในการบริหารงานแบบเก่า เช่น การบริหาร
งานโดยรวม(TQM)การรีเอ็นจิเนียริ่ง(Re-engineering) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการบริหารองค์กร แต่
เทคนิค เหล่านี้ไม่สามารถพัฒนความชาญฉลาดขององค์กรได้ จึงได้นําการจัดการความรู้เข้ามาใช้
         2. ความเปลี่ยนแปลงด้านการตลาด ในการแข่งขันทางด้านการตลาดเทคนิคการขายเป็นสิ่งที่
มีความสําคัญ ดังนั้นเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจจึงต้องมีการพัฒนาฐานความรู้ในองค์กร
         3. ลดความผิดพลาดในการแข่งขันด้านการตลาด รวมถึงการลดขนาดองค์กร เพื่อให้การ
ทํางานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
         4. สร้างวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด ช่วยให้องค์กรลดงบประมาณในการทํางานได้
         5. การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างความสําเร็จในองค์กร


วัตถุประสงค์ของ Knowledge Management : KM

          1. เพื่อปรับปรุงกระบวนการดําเนินงานทางธุรกิจที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
          2. เพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ    
          3. เพื่อเป็นการปรับปรุงเทคนิค กระบวนการโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และ
นําความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์


องค์ประกอบของ Knowledge Management

        1. คน (People) หมายถึง พนักงาน ลูกจ้าง ลูกค้า หรือผู้มีผลกระทบกับองค์กร KM จะรวบ
รวมว่าใครเชี่ยวชาญในด้านใดบ้างถ้ามีงานใหม่เข้ามาจะมอบหมายให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
          2. สถานที่ (Place) หมายถึง ที่ที่ทุกคนในองค์กรสามารถระดมความคิดร่วมกันได้ อาจอยู่
นรูปของเว็บบอร์ด การประชุมทางไกล หรือ โปรแกรมออนไลน์อื่นๆ ก็ได้
          3. ข้อมูล (Thing) หมายถึง ทุกสิ่งที่นำเก็บและให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้โดยง่าย
การวิเคราะห์ แยกแยะหมวดหมู่ของข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ


องค์ประกอบหลักในการพัฒนา Knowledge Management

          1. ผู้นำ (Leadership) หัวหน้า หรือผู้บริหารในองค์กรจะต้องเป็นผู้นำในเรื่องนี้ ทำให้เป็น
ตัวอย่างและขยายต่อให้พนักงานองค์กรรับทราบและปฏิบัติตามต่อไป
          2. วัฒนธรรม (Culture) วัฒนธรรมในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ หากผู้นำมีความชัดเจน เด็ดขาด
จริงจังในการจัดการความรู้เป็นตัวอย่างปฏิบัติที่ดี มีการกระจายงาน มีความเข้าใจงานทุกส่วนขององค์
กรเป็นอย่างดีแม้จะไม่ได้ลงมือปฏิบัติเอง มีเวลาเพียงพอ
ให้กับพนักงานและองค์กร จะเป็นจุดเริ่มต้นของการ สร้างวัฒนธรรมที่ดีให้กับพนักงานในองค์กร
          3. การเข้าถึงแหล่งความรู้ (Access) ต้องเข้าถึงได้ตรงตามความต้องการ ทันเวลา และทันสมัย
          4. เทคโนโลยี (Technology) ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการจัดการ
          5. วัฒนธรรมการเรียนรู้ (Learning Culture) เรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นแค่ความฝัน แต่ทุก
อย่างจะเป็นความจริงได้ถ้าเริ่มต้นทำกันอย่างจริงจัง การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กรให้
ประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มจากฝ่ายบริหารระดับสูงและไล่ระดับลงมาจนถึงพนักงานระดับล่าง 
เพราะเรื่องของการจัดการความรู้ไม่สามารถทำได้จากคนเพียงคนเดียว หรือ กลุ่มคนกลุ่มเดียวแต่จะ
ต้องทำให้ได้ทั้งองค์กร นอกจากนี้ยังเป็นการเก็บความรู้ไว้กับองค์กร เพราะมีการบันทึกแบบมีแบบแผนและ
ขั้นตอนไว้แล้ว เมื่อพนักงานหรือคนสำคัญในองค์กร ลาออก เสียชีวิต หรือเกษียณ องค์กรก็จะไม่เสียเวลา
และค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมคนที่เข้ามาใหม่ต่อไป
           6. บรรยากาศอิสระ แต่จริงจัง ไม่เชิงบังคับ แต่มีกรอบปฏิบัติ และต้องทำอย่างสม่ำเสมอ

ขั้นตอนการพัฒนา Knowledge Management ประกอบด้วย (นฤมล พฤกษศิลป์ และ พัชรา หาญเจริญกิจ, 2543 : 66)

          1. การจัดหาหรือการสร้างความรู้ (Knowledge Creation Acquisition)

          2. การจัดเก็บความรู้ (Knowledge Organization Storage)

          3. การเผยแพร่ความรู้ (Knowledge Distribution)

          4. การใช้โปรแกรมการจัดการความรู้ (Knowledge Application

กระบวนการในการสร้าง Knowledge Management  (Tiwana, 2000 : 100) ประกอบด้วย 4 ระยะ คือ
       1. Infrastructural Evaluation ขั้นการวางโครงสร้างพื้นฐานของการจัดการความรู้

      2. KM System analysis, Design and Development ขั้นการประเมินระบบการจัดการความรู้การออกแบบ และการพัฒนา

      3. System Development ขั้นตอนการพัฒนาระบบที่ได้มีการประเมินแล้ว

      4. Evaluation ขั้นตอนการประเมินระบบการจัดการความรู้ที่ได้สร้าง

แนวทางการพัฒนา Knowledge Management
  
   1. กำหนดให้มีหัวหน้าคณะทำงาน (Chief Knowledge Officer) หรือการสร้างทีมงานในแต่ละสาขามาร่วมกันพัฒนากระบวนการทำงาน

   2. ระบุข้อมูลหรือความรู้ที่ต้องการใช้เพื่อการตัดสินใจให้ชัดเจน

   3. จัดทำ Workflow พัฒนากระบวนการทำงาน โดยการสร้างความรู้ การรวบรวมและการจัดเก็บ เพื่อเชื่อมโยงไปยังผลลัพธ์ที่ได้จากกระบวน
    การดังกล่าวโดยให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมมากขึ้นในการปรับปรุง Workflow

   4. การสร้างและการถ่ายทอดความรู้ของบุคคลในองค์กรจะช่วยแก้ปัญหาให้งานสำเร็จและมีประสิทธิภาพขึ้น

   5. พัฒนาศูนย์ข้อมูลโดยอาศัยทักษะการถ่ายทอดหรือการเคลื่อนย้ายความรู้

   6. ทำระบบเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญเพื่อการประสานงานความร่วมมือ และการส่งเสริมการใช้ความรู้ร่วมกัน


กระบวนของ Knowledge Management

Turban และคณะ ได้เสนอกระบวนของ Knowledge Management ประกอบด้วย การสร้าง การจัดและเก็บ การเลือกหรือกรองการกระจาย
      การใช้ และการติดตาม/ตรวจสอบ


เหมืองความรู้  ยืน ภู่สุวรรณ (2546) แบ่งขั้นตอนการทำเหมืองความรู้ (KDD - Knowledge Discovery in Databases) ไว้ดังนี้


1. กลั่นกรองข้อมูล (data cleaning) โดยนำข้อมูลที่มีค่าเป็นศูนย์ ข้อที่ขาด ข้อมูลขยะ และข้อมูลที่ไม่แน่นอนออกไป

2. รวบรวมข้อมูล (data integration) โดยรวมข้อมูลจากหลากหลายแหล่งเก็บข้อมูล

3. คัดเลือกข้อมูล (data selection) โดยเลือกเฉพาะข้อมูลที่ต้องการนำมาวิเคราะห์

4. แปรรูปข้อมูล (transformation) โดยรวมกลุ่มข้อมูล เช่น ข้อมูลการขายรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุของประชากร
วัยรุ่น ประชากรวัยกลางคน และประชากรสูงอายุ

5. data mining 
โดยประยุกต์วิธีการชาญฉลาดที่ดึงรูปแบบที่ซ้ำๆ กัน และเป็นรูปแบบที่น่าสนใจออกมา สมมติว่าร้านค้าสะดวกซื้อแห่งหนึ่งเก็บข้อมูล

การขายรายวัน และนำมาวิเคราะห์ พบว่า เมื่อลูกค้าซื้อกาแฟก็มักจะซื้อขนมปังควบคู่ด้วย (นี่เป็นรูปแบบที่ค้นพบได้ในขั้นตอนการทำ Data Mining) ทางบริษัทสามารถนำกลยุทธ์นี้ไปปรับวิธีขาย เพื่อดึงความสนใจของลูกค้ามากขึ้นได้

6. ประเมินรูปแบบ (pattern evaluation)
 ซึ่งรูปแบบที่น่าสนใจควรเป็นสิ่งที่ผู้ใช้เชื่อถือได้ หรือยืนยันสมมติฐานที่มีเหตุผล


7. นำเสนอความรู้สู่ผู้ใช้ (knowledge presentation)


เครื่องมือที่ใช้ในการทำ Knowledge Management

ระบบสารสนเทศ (ศรันย์ ชูเกียรติ, 2541 : 16-21) ประกอบด้วย

         1. ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System : OAS) มุ่งอำนวยความสะดวกหรือเพิ่มผลผลิตในการทำงานของบุคลากร
ที่ทำงานด้านสารสนเทศในสำนักงาน ซึ่งกิจกรรมที่ทำ ได้แก่

                  - การจัดการงานเอกสาร คือ การจัดเตรียมเอกสารที่จะเป็นในการปฏิบัติงานปกติ

                  - การจัดตารางการทำงาน คือ การจัดทำตารางเวลา การนัดหมาย

                  - การติดต่อสื่อสาร คือ การติดต่อสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร

                  - การจัดการข้อมูล คือ การนำเอาข้อมูลต่างๆมาทำการวิเคราะห์

         2. ระบบสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Work System : KWS) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สนับสนุนการทำงานของบุคคล
ที่ทำงานด้านการสร้างองค์ความรู้ (Knowledge worker) ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทั้งการคิดค้น ค้นคว้า และวิจัย

         3. ระบบสนับสนุนการทำงานกลุ่ม (Group Collaboration System : GCS) กับหน้าที่ในการใช้องค์ความรู้ ร่วมกันในองค์กร ปัจจุบัน
องค์กรส่วนใหญ่เป็นการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม บางครั้ง เรียกว่า Groupware จึงเป็นระบบที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานในร่วมกันเป็นกลุ่ม
ซึ่งเป็นการรวมเอาเทคโนโลยีด้านเครือข่าย ฐานข้อมูล และอีเมล์รวมเข้าด้วยกัน

         4. เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ทำหน้าที่ในการจัดเก็บองค์ความรู้ในองค์กรและการนำมรใช้ในภายหลังเป็นระบบ
ที่พัฒนาให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานแบบที่ต้องใช้ปัญญาเหมือนกับมนุษย์ได้ เช่น หุ่นยนต์ การทำความเข้าใจภาษาธรรมชาติ ระบบผู้เชี่ยวชาญ
และระบบฐานข้อมูล กรณีศึกษา

เทคโนโลยี
 ชาลี วรกุลพิพัฒน์ และ ญาณวรรณ สินธุภิญโญ (2544, 42) กล่าวว่า การจัดทำ KM ที่ดีนั้นจำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีที่สำคัญ 5 อย่าง
เข้าช่วย ได้แก่
          
1. Business Intelligence ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ทางธุรกิจเพื่อเป็นประโยชน์กับองค์กร เช่นเดียวกับการทำ e-Business เช่นนำข้อมูลที่รวบรวมมาทั้งหมดจากรูปแบบต่าง ๆ มาทำการ Mining เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล เทคโนโลยีตรงนี้ได้แก่ OLAP หรือ Data Mining เป็นต้น

          
2. Collaboration เป็นการผสมผสานการใช้ Tool หลายๆตัวเข้าด้วยกันในการจัดเก็บข้อมูลเช่น Excel, Word และ Text File เนื่องจาก
ข้อมูลจำนวนมากถูกจัดเก็บในรูปแบบที่ต่างกัน ตามความเหมาะสม เช่น ข้อมูลนิ่ง หรือข้อมูลที่ต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ย่อมใช้ Tool ในการจัดการ
ที่ต่างกัน

          
3. Knowledge Transfer เป็นวิธีการถ่ายทอดวิชาความรู้ในรูปแบบ e-Learning ว่าทำอย่างไรถึงจะทำให้ผู้ใช้ระบบมีความเข้าใจในข้อมูล
เหล่านี้ หรือทำอย่างไรให้พนักงานใหม่สามารถเรียนรู้งานของ
พนักงานที่ลาออกไปแล้วได้ด้วยตนเองอย่างรวดเร็ว เช่น เรียนรู้ระเบียบหน้าที่ต่างๆ หรือเรียนรู้งานและวิธีการแก้ปัญหาในงานนั้นที่พนักงานคนเก่าได้บันทึกเก็บไว้


         4. Knowledge Discovery เป็นการหาวิธีที่จะเข้าถึงส่วนต่าง ๆ ที่ไม่เคยเข้าได้มาก่อน ซึ่งข้อมูลสำคัญบางอย่างอยู่ใน Platform ที่เข้าถึงยาก
สำหรับทุกคนหรือถูกกันด้วย Password เช่น SAP ดังนั้นจึงต้องหาวิธีสกัดข้อมูลเหล่านี้ออกมาในรูปแบบที่เข้าถึงได้ทุกคน

         5. Expertise Location ช่วยในการหาว่าใครในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องใด เนื่องจากการเก็บข้อมูลบุคคลในองค์กร และผลงานของ
คนๆ นั้น ย่อมสามารถวิเคราะห์ออกมาได้ว่าใครถนัดเรื่องอะไร


เทคโนโลยีสนับสนุน

เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการบริหารจัดการความรู้ประกอบด้วย (สมชาย นำประเสริฐชัย, 2546 : 105)

         1. เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายขึ้นรวมถึงสามารถ
             ติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นได้

         2. เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) ช่วยให้ประสานการทำงานร่วมกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพลดอุปสรรค
             ในเรืองระยะทาง

         3. เทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage technology) ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

ประโยชน์ของ Knowledge Management


1. เพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร

2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคลากรเกษียณอายุ ลาออก หรือเสียชีวิต

3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด

4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์ ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร และนำความรู้ไปปรับใช้
้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เป็นการ พัฒนาคน และพัฒนาองค์กร

5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มี
หลักการ เหตุผลและน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ

6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน

7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที

8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร

9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่

10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจ / แนวดิ่ง สู่ วัฒนธรรมความรู้ / แนวราบ

11. ความสามารถในการปรับตัวและความยืดหยุ่น

12. การจัดการความรู้ช่วยให้องค์กรมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาด และการแข่งขันทำให้เพิ่มโอกาสในการแข่งขัน

13. การพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาเป็นการพัฒนาความสามารถขององค์กรในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่

14. การยกระดับผลิตภัณฑ์ การนำการจัดการความรู้มาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและบริการ

15. การบริหารลูกค้า การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจและเพิ่มยอดการขาย และการสร้างรายได้

16. การลงทุนทางทรัพยากรบุคคล การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการเรียนรู้ร่วมกัน


ปัญหาของ KM 

1. การถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคลกับองค์กร เช่นปัญหาการไม่แบ่งปันความรู้ บริษัทหนึ่งมีการส่งพนักงานไปสัมมนา หรือฝึกอบรม หลังจากที่
กลับมาแล้ว ก็เก็บความรู้เอาไว้คนเดียว หรืออาจจะรายงานให้หัวหน้าทราบเพียงเท่านั้นแต่พนักงานคนอื่นอีกหลายคนในองค์กรที่ไม่ได้ไป
จะไม่รับรู้เลยว่าคนที่ไปฝึกอบรม หรือไปสัมมนามานั้น ได้อะไรกลับมา เพราะมีไม่การเก็บบันทึกรายงานหรือสิ่งที่น่าสนใจที่ได้จากการอบรม
หรือสัมมนาในครั้งนั้น ๆ ไว้ในฐานข้อมูล อินทราเน็ต หรือเว็บไซต์ หากองค์กรไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องเช่นนี้ ก็จะให้การลงทุนไปกับ
การส่งพนักงานไปฝึกอบรม หรือเข้าร่วมสัมมนา อาจจะเป็นการ ลงทุนที่สูญเปล่า

2. การจัดเก็บความรู้ขององค์กร จัดเก็บไว้หลากหลายแหล่ง หลายรูปแบบ มีทั้งที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ และไม่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ กระจัดกระจาย
ในยามที่ต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแบบด่วน จะทำไม่ได้เพราะต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลนาน ทำให้เสียผลประโยชน์ต่อองค์กร

3. การไม่นำความรู้ขององค์กรมาสร้างความสามารถในการแข่งขัน หรือก่อให้เกิดประโยชน์อย่าง แท้จริง ในองค์กรมีความรู้มากมาย ที่ได้จากการวิจัย
หรือประสบการณ์จากการทำงาน แต่วิจัยแล้วก็จบไปไม่นำไปประยุกต์เพื่อทำให้เกิดผลทางธุรกิจต่อไป หรืองบโครงการหมดก็จบโครงการไปไม่มีการสาน
ต่อหรือองค์กรมีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถออกไปสอนองค์กรอื่นให้ประสบความสำเร็จ มีความรู้ แต่ในขณะเดียวกัน ท่านเหล่านั้นกลับยุ่ง และไม่มีเวลา
เหลือพอที่จะพัฒนาคนในองค์กรเดียวกันเลย ก็กลายเป็นความสูญเปล่าที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น

4. การสร้างความรู้ใหม่ สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีการสะสมความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบ เมื่อไม่เกิดความรู้ใหม่ อีกทั้งความรู้เดิมไม่ได้เก็บไว้ด้วยแล้ว
องค์กรก็จะไม่เหลืออะไร และจะตายลงในที่สุด

5. การไม่นำความรู้ภายนอกมาปรับใช้ อาจจะทำให้ตามสถานการณ์โลก และคู่แข่งไม่ทัน

6. ความรู้ในองค์กร ความรู้ภายนอกองค์กร ไม่เชื่อมโยงกับงาน และขาดบริบทในการปฏิบัติงาน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น